ซึ่งบุคลากรจากหน่วยงานเหล่านี้จะเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันใจการปฏิบัติงานป้องกัน บรรเทา และฟื้นฟู ด้วยระบบการบริหารจัดการสาธารณภัยอย่างเป็นระบบ และเกิดผลสัมฤทธิ์ในการลดความสูญเสียที่เกิดขึ้น จากสาธารณภัยทุกประเภทอย่างเป็นรูปธรรม ส่วนราชการกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ประกอบด้วย
สำนักผู้ตรวจราชการกรม |
สำนักงานเลขานุการกรม |
กองนโยบายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย |
กองมาตรการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย |
กองส่งเสริมการป้องกันสาธารณภัย |
ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย |
ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ |
สำนักช่วยเหลือผู้ประสบภัย |
สำนักวิจัยและความร่วมมือระหว่างประเทศ |
กองบูรณาการความปลอดภัยทางถนน |
กองการเจ้าหน้าที่ |
กองคลัง |
กองกฏหมาย |
กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ |
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร |
กลุ่มตรวจสอบภายใน |
กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร |
กลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรม |
กองโรงงานเครื่องจักรกล |
รวมถึงในส่วนภูมิภาค ได้แบ่งเขตพื้นที่การรับผิดชอบเป็น ๑๘ กลุ่มจังหวัด ได้แก่ ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต ๑-๑๘(เขต ๑ ปทุมธานี, เขต ๒ สุพรรณบุรี, เขต ๓ ปราจีนบุรี, เขต ๔ ประจวบคีรีขันธ์, เขต ๕ นครราชสีมา, เขต ๖ ขอนแก่น, เขต ๗ อุบลราชธานี, เขต ๘ กำแพงเพชร, เขต ๙ พิษณุโลก, เขต ๑๐ ลำปาง, เขต ๑๑ สุราษฎร์ธานี, เขต ๑๒ สงขลา, เขต ๑๓ อุบลราชธานี, เขต ๑๔ อุดรธานี, เขต ๑๕ เชียงราย, เขต ๑๖ ชัยนาท, เขต ๑๗ จันทบุรี, เขต ๑๘ ภูเก็ต) อีกทั้งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ยังเตรียมความพร้อมในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยด้วยการพัฒนาทรัพยากรบุคคลโดยมี สถาบันพัฒนาบุคลากรด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และวิทยาเขตต่างๆในส่วนภูมิภาค (วิทยาเขตปทุมธานี, วิทยาเขตขอนแก่น, วิทยาเขตเชียงใหม่, วิทยาเขตปราจีนบุรี, วิทยาเขตพิษณุโลก, วิทยาเขตภูเก็ต, วิทยาเขตสงขลา) เมื่อมีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นหน่วยงานหลักในการจัดการสาธารณภัยอย่างเป็นระบบ ซึ่งจะเป็นศูนย์กลาง ในการพัฒนาประสิทธิภาพระบบการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อให้ประชาชนได้รับการดูแลเอาใจใส่ ให้มีความปลอดภัย และไม่ได้รับความสูญเสียด้านชีวิต และทรัพย์สินที่สืบเนื่องจากสาธารณภัย
|